ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
![id7JB6wohrNBTqSMvURnmwKFtoQbdsqle48fbFxxjIwRXam4f4m_HlvVCC–26A60Tt2DkBTxolwigjRR_jjnx-RRlyjky-9Ovl0_C9Nhtr_KTa5rwOVKB__rH-I id7JB6wohrNBTqSMvURnmwKFtoQbdsqle48fbFxxjIwRXam4f4m_HlvVCC--26A60Tt2DkBTxolwigjRR_jjnx-RRlyjky-9Ovl0_C9Nhtr_KTa5rwOVKB__rH-I](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/elementor/thumbs/id7JB6wohrNBTqSMvURnmwKFtoQbdsqle48fbFxxjIwRXam4f4m_HlvVCC-26A60Tt2DkBTxolwigjRR_jjnx-RRlyjky-9Ovl0_C9Nhtr_KTa5rwOVKB__rH-I-q161d2mzhxfel1uvxqsvgts1enrg39mrrp72qb05yw.jpg)
ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการวิจัย: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นศาสตร์ที่พัฒนามาจากการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านชีวเคมี พันธุศาสตร์ และจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหลากหลายแขนง รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อผลิตผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับแนวทางงานวิจัยของสถาบันฯ
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2023/02/b.jpg)
งานวิจัย
หนึ่งในปัญหาของระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน คือการเพิ่มจำนวนของเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะผิดวิธี ทำให้มีความจำเป็นในการผลิตและสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้รักษาโรคติดเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะ แต่กระบวนการพัฒนาและการผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ ใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษามีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการศึกษาและเข้าใจกลไกการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียจึงมีความสำคัญ เพื่อที่จะสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อรักษาการติดเชื้อของแบคทีเรีย ควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบใหม่และการผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ
ตลอดระยะเวลา 35 ปี ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพได้เผยแพร่ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากกว่า 150 ผลงาน และได้มีการนำเสนอผลงานไปแล้วมากกว่า 300 ผลงานทั้งในระดับชาติ และในระดับนานาชาติ ห้องปฏิบัติการฯ ได้งบสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการฯ ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย รางวัลวิจัยทะกุจิ (Taguchi) ประเภทนักวิจัยดีเด่น จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย รางวัล IWA-HRWM Willie Grabow Young Investigator จากสมาคมน้ำระหว่างประเทศ สหราชอาณาจักร และ รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีผลงานโดดเด่น จากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
แขนงของงานวิจัยภายใต้ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 แขนง ได้แก่ เทคโนโลยีชีวการแพทย์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีทางพืช
- เทคโนโลยีชีวการแพทย์
- เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีทางพืช
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2023/01/gfx-copy-2-1024x1024.png)
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2023/01/gfx-copy-2-1024x1024.png)
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2023/01/gfx-copy-2-1024x1024.png)
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2023/01/gfx-copy-2-1024x1024.png)
ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ชั้น 8 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2022/12/ct2.png)
![](https://www.cri.or.th/wp-content/uploads/2022/12/ct2.png)
โทรศัพท์
0 2553 8555
ต่อ 8557