การสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 

      ความท้าทายในการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอยู่ที่การวางยุทธวิธีและลำดับในการสร้างพันธะระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งนี้การนำกระบวนการคิดและพิจารณาความสามารถในการนำปฏิกิริยาทางอินทรีย์เคมีสังเคราะห์มาใช้อย่างชาญฉลาดร่วมกับการสังเกตความแตกต่างของความว่องไวในการทำปฏิกิริยาของหมู่ฟังก์ชัน ต่าง ๆ แม้เพียงเล็กน้อย ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการสังเคราะห์โครงสร้างที่ซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังได้มีการนำกระบวนการสังเคราะห์เลียนแบบกระบวนการชีวสังเคราะห์มาใช้อีกด้วย การออกแบบลำดับขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งผลทางสเตอริโอเคมีของปฏิกิริยาในแต่ละขั้นก็มีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้แนวทางการสังเคราะห์แบบที่มีสารมัธยันต์ร่วมนั้นมีความสำคัญในการเตรียมอนุพันธ์ นับว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของแนวทางการสังเคราะห์ในลักษณะนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทางห้องปฏิบัติการฯ ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเหล่านี้รวมทั้งลาเมลลาริน/เอซาลาเมลลาริน (±)-พาโลเดสแซนเกรน (±)-พอซิฟลอรอล เอฟ เนกกูดิน เอ (+)-ζคลอซินาไมด์ (+)-บาลาสุบราไมด์ แคนนาบินอล ไอโซคริปโตเลพีน (±)-คริสพีน เอ (+)-ฟีแนนโธรอินโดลิซีดีน (+)-ฟีแนนโธรควิโนลิซีดีน (±)-เซโก-แอนโทฟีน (±)-จูแลนดีน โลโฟคลาดีน (±)-แคสทาโนสเปอร์มีน (+)-8-อมิโนเลนทิจิโนซีน และ (-)-เอพิ-เอพิควินาไมด์

แท็ก

แชร์