ศูนย์เฉพาะทาง (ICEHT)




ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยานานาชาติ
(International Center for Environmental Health and Toxicology: ICEHT)
ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยานานาชาติ (International Center for Environmental Health and Toxicology: ICEHT) (ชื่อเดิม ศูนย์พิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมนานาชาติ) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 เพื่อเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคและนานาชาติ มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และการประเมินความเสี่ยงจากสารเคมี ซึ่งเป็นที่ต้องการของภาครัฐและเอกชน
จากการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2533 จึงได้รับการแต่งตั้งจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ให้เป็น “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมนานาชาติ” (UNEP Center of Excellence in Environmental and Industrial Toxicology : ICEIT)


จากการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2533 จึงได้รับการแต่งตั้งจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ให้เป็น “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมนานาชาติ” (UNEP Center of Excellence in Environmental and Industrial Toxicology : ICEIT)
ในปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็น “ศูนย์ความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศด้านบุคลากร และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (WHO Collaborating Center for Capacity Building and Research in Environmental Health Science and Toxicology)” และได้ปรับชื่อเป็น “ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยานานาชาติ (International Center for Environmental Health and Toxicology: ICEHT)” เพื่อสะท้อนให้เห็นบทบาทที่เพิ่มขึ้น




ต่อมา ในปี พ.ศ. 2556 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้รับการประกาศจาก องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO-SEARO) ให้เป็น “ศูนย์กลางการฝึกอบรมของ WHO-SEARO ด้านความปลอดภัยของสารเคมีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO-SEARO Regional Training Center on Chemical Safety in the South-East Asia Region)”


จากความสำเร็จของศูนย์ฯ ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) องค์การอนามัยโลก สำนักงานใหญ่และสำนักงานส่วนภูมิภาค รวมทั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ได้สนับสนุนการดำเนินโครงการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากร ซึ่งครอบคลุมไปถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มาเลเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นความร่วมมือที่สำคัญยิ่งที่ประเทศไทย ได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเหล่านี้