พระประวัติ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน
วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับพระราชทาน พระนามอันเป็นมงคลยิ่งว่า “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” พระนาม “จุฬาภรณ์” ถือเป็นพระนามมงคลยิ่ง เพราะหมายถึง การอัญเชิญพระนาม “จุฬา” ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มาเป็นคําต้นพระนามของพระองค์ เนื่องด้วยในวันประสูตินั้น เป็นวันมหาปีติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับพระราชทาน พระนามอันเป็นมงคลยิ่งว่า “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” พระนาม “จุฬาภรณ์” ถือเป็นพระนามมงคลยิ่ง เพราะหมายถึง การอัญเชิญพระนาม “จุฬา” ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นคําต้นพระนามของพระองค์ เนื่องด้วยในวันประสูตินั้น เป็นวันมหาปีติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา
“ลูกมีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือให้มีความรู้
เพื่อจะได้ออกมาทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป”
คำสอนของพระราชบิดาและพระราชมารดา ตั้งแต่ทรงมีพระชันษาเพียง 2 ปี
เมื่อทรงเริ่มศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา
วันแรกที่เสด็จไปโรงเรียนจึงมิได้ทรงกันแสงเช่นเด็กอื่น และทรงยึดถือคำสอนนี้
เป็นแรงบันดาลพระทัยให้ทรงงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนตราบถึงทุกวันนี้
พ.ศ. 2504
ฉายพระรูปร่วมกับพระราชบิดา พระราชมารดา พระเชษฐภคินีทั้งสอง และพระเชษฐา
ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน
“ลูกมีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือให้มีความรู้
เพื่อจะได้ออกมาทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป”
คำสอนของพระราชบิดาและพระราชมารดา ตั้งแต่ทรงมีพระชันษาเพียง 2 ปี
เมื่อทรงเริ่มศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา
วันแรกที่เสด็จไปโรงเรียนจึงมิได้ทรงกันแสงเช่นเด็กอื่น และทรงยึดถือคำสอนนี้
เป็นแรงบันดาลพระทัยให้ทรงงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนตราบถึงทุกวันนี้
พ.ศ. 2504
ฉายพระรูปร่วมกับพระราชบิดา พระราชมารดา พระเชษฐภคินีทั้งสอง และพระเชษฐา
ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน
ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงสนพระทัยและมีพระปรีชาด้านอักษรศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และทรงได้รับการปลูกฝังทางศิลปะไปพร้อมกัน หลังเสด็จกลับจากโรงเรียนจะทรงทำการบ้าน และทรงเลือกใช้เวลาที่เหลือสำหรับการฝึกซ้อมเปียโนกับพระอาจารย์ชาวรัสเซียอีกวันละ 1-2 ชั่วโมง จนทรงชำนาญและทรงสามารถบรรเลงเพลงได้อย่างไพเราะลึกซึ้ง นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถด้านนาฏศิลป์ก็โดดเด่นงดงามเช่นเดียวกัน ทรงหมั่นฝึกฝนการรำไทยกับท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติด้านนาฏศิลป์ ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 ใน พ.ศ. 2506 และทรงร่วมแสดงในงานรื่นเริงปิดภาคเรียนเป็นประจําทุกปี
เส้นทางสายวิทยาศาสตร์
ขณะทรงศึกษา ทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงสนพระทัยวิชาคํานวณและวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันโปรดศึกษาวิชาภาษาต่างประเทศ และวิชาด้านศิลปะควบคู่ไปด้วย เมื่อถึงเวลาเลือกสายการศึกษาเพื่อศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ โรงเรียนจิตรลดา ทรงเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ เพื่อนำวิชาความรู้มาต่อยอดทำประโยชน์ เพื่อนำความสุขมาสู่ประชาชนตามพระราชประสงค์ของพระราชมารดา ดังรับสั่งว่า
“สมเด็จแม่เคยรับสั่งว่าทรงมีลูกเพียง 4 คน โปรดที่จะให้ศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ กัน เพื่อที่จะได้มาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้หลายด้าน ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ก่อนแล้ว จึงได้ตัดสินใจมาเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ แม้จะชอบด้านศิลปะก็ตาม”
ทรงได้รับความสำเร็จอย่างดีเลิศในการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับสูงสุด
พ.ศ. 2522
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยความเอาพระทัยใส่ และพระปรีชาสามารถในการเล่าเรียน ทรงสอบได้ที่ 1 ในวิชาเคมีและชีววิทยา ทรงได้รับรางวัลเรียนดีจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ
เนื่องจากทรงศึกษาทางภาควิชาเคมีโดยเฉพาะ จึงทรงใช้เวลามากในห้องปฏิบัติการ ทรงงานทดลองอย่างมีระบบ คือ ก่อนทําการทดลองทรงพยายามเข้าพระทัยถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอง วิธีการและขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ เมื่อลงมือปฏิบัติก็ได้ดําเนินการไปตามลําดับ จึงได้ปรากฏผลสำเร็จรวดเร็ว ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายและได้ผลดี ทรงช่างสังเกตและทรงใช้ไหวพริบในการตัดสินพระทัยปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี
พ.ศ. 2528
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2530
ทรงสำเร็จการอบรมระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral Training) เรื่อง “Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering” จากมหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมนี
พ.ศ. 2550
ทรงสำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2557
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2563
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร