เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 9 a.m. - 5 p.m.

02 553 8555

02 553 8572

การแสดงผล
งานวิจัยด้านเคมี

งานวิจัยด้านเคมี

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาปัญหาสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทั่วโลกได้สะท้อนปัญหาความมั่นคงทางยาที่เป็นประเด็นสำคัญไม่เพียงแต่ 

ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ความจำเป็นในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติตามต้องการและสามารถต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ทั้งที่เป็นโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำจึงยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเหล่านี้

ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเคมีตระหนักถึงความสำคัญของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในกระบวนการวิจัยและพัฒนายาไม่ว่าจะเป็นการใช้สาร

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยตรงหรือเป็นต้นแบบสำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างก็ตาม ทั้งนี้ ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สารโมเลกุลเล็ก ได้อย่างน่าอัศจรรย์ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นยาได้แต่อาจมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการงานวิจัยที่ทำในห้องปฏิบัติการวิจัยทั้ง 3 ให้มีความเชื่อมโยงอย่างลงตัวโดยใช้สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นตัวกลาง ตั้งแต่การใช้แนวทางการศึกษาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่สามารถแยกได้อย่างเป็นระบบจากแหล่งต่าง ๆ ทางธรรมชาติรวมทั้งการประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพซึ่งสามารถชี้นำกระบวนการกึ่งสังเคราะห์ที่ควรนำมาใช้ในการเตรียมอนุพันธ์ใหม่ ๆ ตามต้องการด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชันบนโครงสร้างของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยตรง

ทั้งนี้ความซับซ้อนของโครงสร้างสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติยังสามารถขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ทางอินทรีย์เคมีที่มี

ประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งความต้องการปฏิกิริยาใหม่ ๆ ที่จำเป็นต้องมีการวางแผน คิดค้น และออกแบบให้เหมาะสมในการตอบโจทย์การสร้างสารเลียนแบบสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่อาจยังไม่มีรายงานใด ๆ มาก่อน นับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งซึ่งหากพัฒนาได้สำเร็จจะช่วยให้สามารถเข้าถึงสารดังกล่าวที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจแต่มีเพียงปริมาณน้อยถึงน้อยมากในแหล่งทางธรรมชาติ เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ทำให้สังเคราะห์สารได้ในปริมาณมากพอต่อการศึกษาต่างๆ ที่จำเป็นในการประเมินฤทธิ์ทางเภสัชกรรม และการความเป็นพิษซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญในกระบวนการวิจัยและพัฒนายา นอกจากนี้ยังได้นำเคมีคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางโครงสร้างของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทางสเปกโตรสโคปีที่ได้มาจากการศึกษาร่วมกับกระบวนการทางสถิติในการยืนยันโครงสร้าง รวมทั้งยังสามารถใช้เคมีคำนวณในการจำลองแบบเพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ที่สารโมเลกุลเล็กมีต่อสารชีวโมเลกุลเป้าหมายเพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบสารอนุพันธ์ใหม่ ๆ ตามต้องการ

สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติยังสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับโพลิเมอร์ชีวภาพเพื่อเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ เช่นวัสดุปิดแผลสองชั้นที่

ผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทยและการพัฒนาวัสดุปลูกกระดูกด้านทันตกรรมในรูปแบบไฮโดรเจลสำหรับฉีดจากวัสดุคอมโพสิตอัลจิเนต เส้นใยไหมไฟโบรอินและอนุภาคไฮดรอกซีอะปาไทท์

  การประยุกต์เหล่านี้สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านเคมีกับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

  เชิงพาณิชย์ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาจริงได้อีกด้วย โดยเฉพาะการแก้วิกฤติที่มีความเร่งด่วนและจำเป็นต้องมีคำตอบอันจะนำไปสู่ทางออกอย่างทันท่วงที การดำเนินงานที่ต้องแข่งกับเวลาเพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติจึงกระตุ้นให้นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเคมีทำงานวิจัยด้านการพัฒนายาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนไทย

ห้องปฏิบัติการวิจัย
ด้านเคมี

แจ้งไฟล์เสีย
File Broken

profile

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า