เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 9 a.m. - 5 p.m.

02 553 8555

02 553 8572

การแสดงผล
ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา

ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา

ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยามีแนวทางการศึกษาวิจัยทางด้านสมุนไพรและดำเนินงานวิจัยทางเภสัชวิทยาอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาพฤกษเภสัชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พัฒนาต่อยอดเพื่อการรักษาโรคในมนุษย์ ในกระบวนการศึกษาวิจัยดังกล่าวเริ่มต้นจากการระบุสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากนั้นนำองค์ความรู้ในเชิงเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของสารสำคัญนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนายาใหม่ทางสมุนไพร สำหรับขั้นตอนของการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ ประกอบไปด้วย การศึกษากระบวนการดูดซึมของยาหรือสารสำคัญเมื่อเข้าสู่ร่างกาย และติดตามการกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ จากนั้นติดตามการเปลี่ยนแปลงของยาหรือสารสำคัญนั้นๆ ร่วมกับดำเนินการศึกษาเพื่อติดตามกระบวนการขับออกของสารดังกล่าวเมื่อออกจากร่างกาย ซึ่งห้องปฏิบัติการฯ ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์  อย่างไรก็ตามหากพิจารณากระบวนการนำสมุนไพรทางเลือกดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในมนุษย์นั้น  นอกจากจะต้องอาศัยความรู้และความเข้าใทางด้านเภสัชจลนศาสตร์แล้ว ยังจำเป็นต้องประกอบไปด้วยองค์ความรู้ทางด้านเภสัชพลศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยากับความเข้มข้นของยาหรือสารสำคัญต่างๆในเลือด และขนาดของยาที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการตอบสนองหรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อันจะนำไปสู่การกำหนดขนาดของการใช้สมุนไพรหรือยาต่อไปได้อย่างถูกต้อง สำหรับการดำเนินงานวิจัยทางด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยาได้พัฒนาเทคนิควิธีเพื่อดำเนินการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญในตัวอย่างทางชีวภาพ ร่วมกับการตรวจสอบความถูกต้องและความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์นั้นๆ ตามข้อกำหนดและมาตรฐานของสากล โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ liquid chromatography tandem mass spectrometry (LC-MS/MS) ซึ่งเป็นเทคนิควิธีวิเคราะห์ที่มีความไวและมีความจำเพาะเจาะจงสูง สามารถตรวจวิเคราะห์สารในปริมาณน้อย ได้อย่างแม่นยำและน่าเชื่อถือ  

อีกทั้งในปัจจุบันนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยาได้ขยายขอบเขตการศึกษาวิจัยทางด้านเมแทบอโลมิกส์ เพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้และความเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเมแทโบโลมในร่างกายมนุษย์ ภายหลังการได้รับยาหรือสารสำคัญต่างๆเข้าสู่ร่างกาย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสารที่เป็นตัวแทนเมแทบอไลต์ (biomarkers) ที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายนี้ ต่อสภาวะการเกิดโรค การวินิจฉัยโรค และการดำเนินไปของโรคในมนุษย์ นอกจากนี้ยังดำเนินการศึกษาวิจัยทางคลินิกต่อเนื่องมายังผู้ป่วย และกลุ่มประชากรเฉพาะที่มีความแตกต่างทางพยาธิวิทยาของร่างกาย เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความความปลอดภัยของการได้รับสารจากพืชสมุนไพรหรือพฤกษเภสัชภัณฑ์ และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างแตกต่างกันไปตามกลุ่มประชากร

ดังจะเห็นได้ว่างานวิจัยทางด้านเภสัชวิทยาเชิงระบบดังกล่าวนี้ เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญขององค์ความรู้พื้นฐานเพื่อการต่อยอด ซึ่งเกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการกำหนดทิศทางของการวิจัยและการพัฒนายาใหม่ทางสมุนไพร และเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาการใช้สมุนไพรทางเลือกสำหรับการรักษาโรคในผู้ป่วยต่อไปได้ในอนาคต 

แจ้งไฟล์เสีย
File Broken

profile

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า