การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตกล้วยไม้ปลอดไวรัส
กล้วยไม้จัดเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย กล้วยไม้หลายสกุลมีความไวต่อการเป็นโรคไวรัสที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตได้ ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพได้ศึกษายีนที่ผลิตโปรตีนหุ้มอนุภาคไวรัสยอดบิด Cymbidium mosaic virus (CyMV-CP) ในกล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลออนซิเดียม (Oncidium) สกุลม็อคคาร่า (Mokara) และ สกุลแคทลียา (Cattleya) และพบว่ายีนมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมใกล้เคียงกัน ห้องปฏิบัติการฯ ได้นำองค์ความรู้นี้มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์และผลิตกล้วยไม้สกุลหวายให้ปลอดไวรัส ด้วยเทคโนโลยี RNA interference (RNAi) ในการส่งถ่ายยีนหุ้มอนุภาคไวรัสยอดบิดในรูปอาร์เอ็นเอสายคู่ ที่สร้างในห้องปฏิบัติการฯ ไปยังกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นโรคไวรัส การทดลองครั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการออกแบบอาร์เอ็นเอสายคู่ที่มีความจำเพาะต่อยีนหุ้มอนุภาคไวรัสยอดบิด (แผนภาพ) ผลการศึกษาพบว่ากล้วยไม้สกุลหวายเป็นโรคไวรัสที่ผ่านกระบวนการนี้ ปลอดไวรัสหลังการถ่ายยีนโดยใช้ระยะเวลา 1 ปี
แผนภาพแสดงกระบวนการผลิตกล้วยไม้สกุลหวายปลอดไวรัสด้วยวิธีการถ่ายยีน