โครงการ Chem HelpDesk
โครงการ Regional Help Desk for Chemical Safety หรือเรียกว่า โครงการ Chem HelpDesk เป็นโครงการนำร่องเผยแพร่ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมี ภายใต้ความร่วมมือกับ WHO-SEARO เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2551 ผ่านทางเว็บไซต์ www.chemhelpdesk.org
จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้แทบทุกประเทศมีความต้องการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม งานสาธารณสุข รวมถึงการใช้ในชีวิตประจำวัน การนำสารเคมีมาใช้ หากกระทำอย่างถูกต้องและถูกวิธี ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล แต่หากเป็นการใช้โดยขาดความรู้ความเข้าใจ และมาตรการป้องกัน ความปลอดภัยที่ดีแล้ว อาจก่อให้เกิดโทษ และปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้แทบทุกประเทศมีความต้องการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม งานสาธารณสุข รวมถึงการใช้ในชีวิตประจำวัน การนำสารเคมีมาใช้ หากกระทำอย่างถูกต้องและถูกวิธี ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล แต่หากเป็นการใช้โดยขาดความรู้ความเข้าใจ และมาตรการป้องกัน ความปลอดภัยที่ดีแล้ว อาจก่อให้เกิดโทษ และปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
โครงการ ChemHelpDesk จึงเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้และจัดการกับสารเคมีอย่างถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผ่านคำถาม-คำตอบ ทางเว็บไซต์ www.chemhelpdesk.org เพื่อลดปัญหาช่องว่างทางความรู้ด้านสารเคมีระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการด้านสารเคมีให้แก่ประเทศในกลุ่มภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นการเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้และการจัดการกับสารเคมีอย่างถูกต้อง

ในปี พ.ศ. 2553 โครงการ Chem HelpDesk ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแนะนำโครงการฯ และการใช้งานส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง ให้แก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสถาบันการศึกษาในประเทศไทย และจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมี อาทิ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations Institute for Training and Research หรือ UNITAR) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) โดยในการประชุมยังจัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ และการติดตามสถานการณ์ด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมี รวมทั้งประเด็นเร่งด่วนและสำคัญต่างๆ ที่ควรมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมโดย Download Brochure
