งานวิชาการ
HRH Princess Chulabhorn Krom Phra Srisavangavadhana
Head of the Thai Delegation
UNCSD 2012, Rio de Janeiro, Brazil
“Development can be accomplished only with human resources, and thus for development to be sustainable, the maintenance and improvement of the health of the people is of extreme importance, otherwise the foundation for development is weakened and cannot be sustained. Good health must therefore be the base on which the three pillars of sustainable development are built and strengthened.
While the content and parameters for the aforementioned Sustainable Development Goals (SDGs) will need further discussions and elaborations, the critical importance and central role of human health and well-being in sustainable development must be included.”
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างสมรรถนะและปริมาณของทรัพยากรบุคคล จึงได้วางพระนโยบายให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ตอบสนองโดยการเร่งเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่แล้วทั้งภาครัฐและเอกชน และผลิตบุคคลากรระดับสูงเพื่อให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา และการประเมินความเสี่ยงจากสารเคมี ซึ่งประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและมีความสามารถกำหนดแนวทางแก้ไข หรือป้องกันผลกระทบของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการผลิตและพัฒนาบุคลากรระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับประเทศในภูมิภาคและประเทศที่กำลังพัฒนา
โดยครอบคลุมทั้งโครงการฝึกอบรมระยะสั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ได้รับความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว และโครงการด้านการศึกษาระยะยาว เช่น โครงการบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ซึ่งจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เพื่อผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงการจัดการสัมมนาและการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยมีโอกาสติดตามความก้าวหน้าในการทำวิจัยอย่างใกล้ชิดจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์สูง และแสวงหาความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และสมรรถนะของนักวิทยาศาสตร์ไทย โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยต่อไปในอนาคต